วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2559

การบริโภคอาหารคาร์โบไฮเดรตสำหรับบุคคลภาวะพิเศษ


ภาวะพิเศษ หมายถึง ภาวะทีร่างกายมีความต้องการปริมาณพลังงานและสารอาหารที่แตกต่างจากภาวะปกติโดยปกติพลังงานที่ร่างกายต้องการจะเปลี่ยนแปลงไปตามเพศ วัย และบางสภาวะ บุคคลปกติที่จัดอยู่ในภาวะพิเศษ ได้แก่ วัยทารก เด็กวัยก่อนเรียนและเด็กวัยเรียน วัยรุ่น วัยสูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และนักกีฬา
1.วัยทารก

ทารก หมายถึง เด็กทารกแรกเกิดถึงอายุ 1 ปีเป็นวัยที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูง จะเห็นได้จากการทารกมีการเจริญเติบโตรวดเร็วมากปกติทารกแรกเกิดจะมีน้ำหนักประมาณ 2,500-4000 กรัมลำตัวยาวประมาณ 50  เซนติเมตรความยาวรอบศีรษะประมาณ 35 เซนติเมตร ดังนั้นทารกจึงมีความต้องการอาหารที่ให้พลังงานสูงอย่างเหมาะสมและเพียงพอต่อร่างกายเพื่อให้ร่างกายสามารถนำพลังงานที่ได้รับจากสารอาหารไปใช้ในการเจริญเติบโตทั้งในด้านการเพิ่มน้ำหนักตัวของร่างกายเพิ่มความยาวของลำตัว และการเพิ่มเส้นรอบศีรษะซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญที่ทำให้เกิดพัฒนาการทางสมองและพัฒนาการทางด้านร่างกายที่เป็นไปตามวัย ซึ่งกรมอนามัยได้กำหนดแบบแผนพัฒนาการด้านร่างกายตามวัยของทารก 1-12เดือนไว้                                                                                                                                                                                     ทารกช่วงอายุ 3 เดือนถึง 1 ปี ต้องการพลังงานประมาณวันละ 100 กิโลแคลอรี ต่อน้ำหนักตัว 1กิโลกรัมซึ่งสูงมากกว่าความต้องการพลังงาในวัยอื่นๆ
ดังนั้นพลังงานหลักที่ทารกควรได้รับควรจะต้องมาจากน้ำนมแม่ นมแม่มีน้ำตาลแลคโตสและน้ำตาลกลุ่มโอลิโกแซคคาไรด์ในปริมาณมาก โดยในน้ำนมแม่มีโอลิโกแซคคาไรด์ธรรมชาติมากกว่า 100 ชนิด มากกว่านมวัว 100 เท่า สารนี้มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ เชื้อบิฟิโดแบคทีเรีย(Bifidobacteriaspp.)และเชื้อเเล็คโทบาซิลลัส ( Lactobacillus spp.) ซึ่งเป็นแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ของมนุษย์ เชื้อแบคทีเรียทั้งสองนี้ช่วยให้เกิดการย่อยสลายน้ำตาลและไขมัน   เกิดกรดอินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายและช่วยดึงน้ำเข้าลำไส้ใหญ่ จึงทำให้อุจจาระทารกที่กินนมแม่ นิ่มและถ่ายบ่อย ภาวะในลำไส้ทารกที่มีความเป็นกรดจะช่วยให้แคลเซียมและเหล็กในน้ำนมถูกดูดซึมได้ดี จึงช่วยป้องกันภาวะกระดูกอ่อนได้  นอกจากนี้ภาวะกรดในลำไส้ยังช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียชนิดที่ทำให้เกิดโรคท้องร่วงในทารก นอกจากนี้ นมแม่ยังช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันผ่านทางระบบน้ำเหลืองของทางเดินอาหาร
แม่ที่ไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ได้อาจมีสาเหตุมาจากสุขภาพของแม่ เช่น แม่มีหัวนมบอด หัวนมแตก เป็นโรคเรื้อรังหรือสภาพเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวย เช่น เเม่ที่ทำงานนอกบ้าน เป็นต้นจึงมีความจำเป็นต้องใช้นมผสมเลี้ยงลูกน้ำนมส่วนใหญ่ที่มีจำหน่ายในห้องตลาด ส่วนใหญ่มาจากนมวัวและมีการดัดแปลงส่วนประกอบต่างๆให้ใกล้เคียงกับนมแม่มากที่สุด  ชนิดของนมผสมอาจแบ่งได้เป็น 3 ชนิดคือ นมผงดัดแปลงสำหรับทารกนมผงตัดแปลงสูตรต่อเนื่องสำหรับทารกและเด็กเล็ก และนมครบส่วน อย่างไรก็ตาม นมผสมที่จำหน่ายในห้องตลาดต้องมีการระบุส่วนระกอบและตารางแสดงพฤติกรรมทางโภชนาการอย่างชัดเจนในผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้บริโภคจะได้ทราบชื่อ ลักษณะการใช้การเตรียม การเก็บรักษาและข้อควรระวังซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจเลือกซื้อของผู้บริโภค      
ในปีค.ศ 2002 องค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้เริ่มอาหารเสริมครั้งแรกแก่ทารกเมื่ออายุ 6 เดือนขึ้นไปและทารกที่อายุ 4-6 เดือนที่ได้รับนมแม่อย่างเดียว แต่น้ำหนักไม่ขึ้นตามเกณฑ์ทั้งที่ได้รับนมแม่อย่างเหมาะสม แต่ทารกก็ยังมีการแสดงออกว่า หิว  ควรพิจารณาให้อาหารเสริมเพิ่มเติม แต่ต้องไม่ให้บ่อยจนได้รับนมแม่ลดลงหรือหย่านมเร็วไปหลักในการให้อาหารเสริมแก่ทารกควรคำนึงถึงสารอาหารหลักที่ให้พลังงานเช่นเดียวกับบุคคลวัยปกติ ประกอบด้วยสารอาหารที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายและทำให้น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติ นั่นคือใช้แนวทางการจัดอาหารให้ครบ 5 หมู่ สำหรับปริมาณอาหารเสริมที่ให้ควรยืดหยุ่นตามปริมาณที่ทารกยอมรับได้ สำหรับอาหารคาร์โบไฮเดรตได้แก่ ธัญชาติและแป้ง เช่น ข้าวเจ้า ข้าวโอ๊ต ขนมปัง ควรเตรียมให้มีเนื้อสัมผัสอ่อนนุ่ม โดยการทำให้สุก และควรงดน้ำวานน้ำอัดลมและไม่ควรผสมกลูโคสในน้ำให้ทารก เพราะทำให้เด็กไม่ดูดนม และไม่ยอมกินอาหารที่มีประโยชน์อาจทำให้เกิดโรคขาดโปรตีนและพลังงานได้และควรให้น้ำนมแก่ทารกทุกครั้ง หลังจากได้อาหารเสริมแล้ว
อาหารเสริมควบถ้วนเป็นอาหารเสริมสำเร็จรูปมักทำจากธัญชาติผสมกับถั่วนมผงอาจมีการเสริมวิตามินและเกลือแร่เพื่อให้สารอาหารครบถ้วนตามความต้องการของทารก คือโปรตีนไม่น้อยกว่า 2.5 กรัมไขมันไม่น้อยกว่า 2 กรัม กรดไขมันจำเป็นไม่น้อยกว่า 300 มิลลิกรัมต่อ 100 กิโลแคลอรีและกรดไขมันสายยาวไม่น้อยกว่าร้อยละ 1 ของพลังงานมีกลิ่นรสตามลักษณะอาหารเสริมไม่ใช้วัตถุให้ความหวานและวัตถุกันเสียซึ่งอาหารเสริมสำเร็จรูเหล่านี้เหมาะสำหรับแม่ที่ต้องออกไปทำงานนอกบ้านส่วนใหญ่มักมีราคาแพง
ข้อควรคำนึงเกี่ยวกับการให้อาหารเสริมเกทารกได้แก่เส้นใยอาหารและรสชาติของอาหารการให้เส้นใยอาหารในปริมาณมากเกินไป จะลดการดูดซึมของโปรตีน รวมทั้งเกลือแร่ทีจำเป็นต่อร่างกายและอาจส่งผลเสียต่อเวลล์เยื่อบุในผนังลำไส้อย่างไรก็ตาม ควรให้ทารกได้รับเส้นใยบ้างเพื่อลดปัญหาท้องผูกการเพิ่มอาหารที่มีเส้นใย อาหารอ่อนนุ่มจะช่วยบรรเทาอาการท้องผูก สำหรับรสชาติของอาหารนั้น อาหารทารกไม่จำเป็นต้องปรุงแต่งรส  อาหารที่ปรุงรสตามความชอบของผู้ใหญ่ เช่น หวานมากเกินไป จะทำให้เด็กติดรสชาติและเคยชินให้เกิดปัญหาน้ำหนักตัวเกินและโรคฟันผุติดตามมาภายหลัง
เด็กวัยก่อนเรียนและเด็กวัยเรียน
เด็กวัยก่อนเรียนและเด็กวัยเรียนเป็นวัยที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโตทั้งด้านร่างกายและสมองจึงต้องการสารอาหารและพลังงานเพื่อใช้สร้างเซลล์และเนื้อเยื่อ และเพื่อให้อวัยวะต่างๆทำงานปกติตลอดทั้งกิจกรรมและการออกกำลังกายดังนั้นเด็กวัยนี้ควรได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการโดยจัดอาหารให้ครบ5หมู่วันละ 3 มื้อ ลักษณะอาหารควรเป็นอาหารที่ย่อยง่าย รสไม่จัด
เด็กวัยก่อนเรียนหมายถึงเด็กทีมีอายุ 1-6 ปีเป็นวัยก่อนเข้าเรียนในระบบการศึกษาภาคบังคับ การเจริญเติบโตของเด็กวัยนี้ยังคงเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านร่างกายและสมอง แต่ถ้าเปรียบกับวัยทารกแล้วการเจริญเติบโตจะช้าลงแต่ก็เป็นไปอย่างสม่ำเสมอโดยเฉลี่ยเด็กวัยนี้ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นปีละประมาณ2-2½กิโลกรัมส่วนสูงเพิ่มขึ้นเฉลียปีละ 2½-3½ นิ้วต่อปีเด็กในวัยนี้ยังมีอายุน้อยเกินไปที่จะช่วยเหลือตนเองในการรับประทานอาหารจึงมักพบเสมอว่ามีปัญหาการขาดโปรตีนและพลังงานร่างกายอ่อนแอติดเชื้อง่าย พ่อแม่จึงเป็นผู้ที่มีบทบาทความสำคัญในการให้ความเอาใจใส่ดูแลและจัดอาหารตามวัยที่เหมาะสมเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
เด็กวัยเรียน หมายถึง เด็กทีมีอายุ 7-12  ปีเป็นวัยที่เข้าศึกษาภาคบังคับเด็กวัยนี้มีการเจริญเติบโตสม่ำเสมอหากเปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตกับวัยทารกและวัยก่อนเรียนแล้ววัยนี้จะช้ากว่ากล่าวคือน้ำหนักตัวจะเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 3-3½ กิโลกรัมและส่วนสูงเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 2½นิ้วต่อปีในระยะสิ้นสุดของวัยนี้สมองจะเจริญ
เติบโตเท่ากับสมองของผู้ใหญ่ เด็กวัยนี้เป็นวัยที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโต ร่างกายต้องการสร้างเซลล์เนี้อเยื่อกระดูกสันหลังและอวัยวะอื่นๆนอกจากนี้เด็กวัยนี้ยังมีกิจกรรมการออกกำลังกายมากขึ้น

เด็กวัยเรียนและเด็กวัยก่อนเรียนเป็นวัยที่ต้องการพลังงานเพื่อการเจริญเติบโตและทำกิจกรรมต่างๆ ความต้องการพลังงานขึ้นอยู่กับ ขนาดของร่างกายอายุและกิจกรรมของเด็กแต่ละคน แหล่งอาหารคาร์โบไฮเดรตที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ต้องให้มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการพลังงานของร่างกาย ซึ่งอาจจะเป็นการยากที่จะให้เด็กกินข้าวหรือแป้งให้มากพอ ดังนั้น จึงควรเพิ่มปริมาณไขมันในอาหารเพื่อให้เด็กได้รับพลังงานเพิ่มขึ้น หรืออาจให้ขนมที่เป็นประโยชน์เช่นถั่วต้มกล้วยบวดซีเต้าส่วน สาคูถั่วดำ เพื่อให้ได้คาร์โบไฮเดรตทุกประเภทที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น