วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2559

คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate)

คาร์โบไฮเดรตเป็นสารอาหารที่พบมากในอาหารประเภท ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน และพืชผักผลไม้ที่มีรสหวาน คาร์โบไฮเดรตเป็นสารอาหารที่เรากินทุกวันและบริโภคเป็นอันดับที่สองรองจากน้ำ คาร์โบไฮเดรตปกติได้จากพืชและเรารู้จักดีในรูปของน้ำตาลและแป้ง เราต้องกินสารอาหารคาร์โบไฮเดรตวันละหลายร้อยกรัม เพื่อให้มีพลังงานสำหรับการดำรงชีวิตและการเจริญเติบโตของร่างกาย นอกจากน้ำตาลและแป้งแล้ว คาร์โบไฮเดรตในอาหารอีกประเภทหนึ่งก็คือกากใย(Crude fiber) หรือเซลลูโลส ซึ่งคนเราย่อยไม่ได้ คนส่วนใหญ่ต้องอาศัยคาร์โบไฮเดรตจากพืชเป็นอาหารหลักประจำวัน พืชสร้างคาร์โบไฮเดรตโดยกระบวนการที่เรียกว่า การสังเคราะห์แสง อันเป็นกระบวนการทางเคมีที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสิ่งมีชีวิต
(คณาจารย์ผู้สอนวิชาการบริโภคเพื่อคุณภาพชีวิต สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,2558)





อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญสำหรับร่างกาย โดยประมาณร้อยละ 50 ของร่างกายได้รับมาจากอาหารประเภทนี้ ซึ่งได้แก่กลุ่มคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าว แป้ง ผลไม้ เป็นต้น และกลุ่มน้ำตาลทั้งที่มาจากธรรมชาติ เช่น น้ำตาลในผลไม้ น้ำผึ้ง เป็นต้น และกลุ่มที่มาจากการแปรรูปหรือสังเคราะห์ใหม่ เช่น เครื่องดื่มและอาหารที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ เป็นต้น จากคำแนะนำการบริโภคน้ำตาลที่เติมลงไปในอาหาร (added sugar) กำหนดการบริโภคไม่เกินร้อยละ 25 ของพลังงานทั้งหมดที่ได้รับต่อวัน และหากบริโภคอาหารที่มีน้ำตาลตามรรมชาติในปริมาณสูง ควรลดสัดส่วนการบริโภคอาหารที่มีการเติมน้ำตาล นอกจากนั้น ควรจำกัดการบริโภคน้ำตาลทรายให้ไม่เกิน 4,6 และ 8 ช้อนชา สำหรับผู้ต้องการพลังงาน 1,600 , 2,000 และ 2,400 กิโลแคลอรี ตามลำดับ เพื่อป้องกันภาวะน้ำหนักเกิน โรคอ้วน เบาหวาน แบะโรคติดต่อไม่เรื้อรังต่างๆ

(นลินี จงวิริยะพันธุ์,2556)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น